วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

ธุรกิจผสมผสานเทคโนโลยี ภาคปฏิบัติ

ธุรกิจผสมผสานเทคโนโลยี ภาคปฏิบัติ

เมื่อวานผมต้องขอโทษจริงๆจากการที่เว้นว่างไปหนึ่งวัน โดยเมื่อวานไม่มีแรงพิมพ์บทความจริงๆ ทั้งๆที่มีอะไรในหัวเยอะแยะไปหมด วันนี้ขอจัดสองบทความชดเชยเมื่อวานด้วยแล้วกัน

ต่อจากความเดิมเรื่องการนำเทคโนโลยี ไม่ว่าจะแบบมีสายหรือไร้สายมาใช้เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เพราะเดี๋ยวอะไรต้องเร็ว ต้องไว ตอยสนองลูกค้าให้ได้ทันทีหรือฝรั่งเขาเรียกว่า Customer Responsibility เอาล่ะตามที่สัญญาไว้ว่าจะเอาเรื่อง case study ที่ธุรกิจ SME เขาเอาเทคโนโลยีใช้อย่างจริงจัง เราไปดูว่า เขาใช้อะไร ทำไม อย่างไร ผลเป็นแบบไหน

ผมขอยกตัวอย่างธุรกิจสุดฮิตของครอบครัวที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้มาตั้งแต่ธุรกิจตั้งใหม่ๆ นั่นคือ

MK สุกี้ นั่นเอง
ผมว่าคนไทยหกสิบกว่าล้านคน คงมีสักเกิน 40% ที่เคยลิ้มลองสุกี้หม้อไฟฟ้าสีแดงตามห้างสรรพสินค้า MK สุกี้ เปิดธุรกิจมาเกือบยี่สิบปีแล้ว (มั้ง) แต่สิ่งที่ผมเห็นตั้งแต่ได้กินครั้งแรกคือ การนำเอา PDA หรือ Personal Digital Assistance แปลตามตัวคือเครื่องมือช่วยเหลือส่วนตัว หรือคอมพิวเตอร์มือถือนั่นเอง ซึ่งประโยชน์ของมันคือเหมือนออแกนไนเซอร์ประจำตัว สามารถจดโน่นนี่ เปิดไฟล์เอกสาร ส่งอีเมล รับโทรศัพท์ได้เหมือนมือถือ + คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (ขอเกริ่นแนะนำสำหรับคนที่ไม่รู้จัก) เอ็มเคใช้พีดีเอมาใข้ในการจดข้อมูลการสั่งอาหารของลูกค้าผ่านระบบไวไฟเข้าฐานข้อมูลทำให้ได้ผลการสั่งอาหารที่ถูกต้อง (ถ้าคีย์ไม่ผิด) ครบจำนวน รวดเร็วและสามารถนำไปใช้ในการเตรียมวัตถุดิบได้ด้วย โดยลงทุนสร้างฐานข้อมูลสินค้าและสร้างระบบ พร้อมลงทุนซื้อพีดีเอให้พนักงานใช้ทุกคน ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนทีคุ้มค่า เพราะระบบนี้ก็ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผมจะอธิบายเป็น Flow Chart ง่ายๆให้ดู

1. พนักงานคีย์สินค้าเข้าไปในพีดีเอ เช่น เป็ดย่างจานใหญ่กับหมี่ผักอย่างละสองจาน
ภาพตัวอย่างการทำระบบของ MK อาจไม่เหมือนที่ใกล้เคียงมากเลย

2. ข้อมูลการสั่งเข้าไปในระบบ ถูกส่งไปสองทางคือ
2.1 พนักงานจัดเตรียม >>> รับคำสั่งคือเป็ดย่าง และ หมีผัก อย่างละสองจาน โดยเป็นการปริ๊นท์กระดาษออกมา สองใบ ใบหนึ่งให้แผนกเตรียม อีกใบให้แผนกเสิร์ฟ
2.2 เข้าฐานข้อมูลเพื่อเช็คสต๊อกว่า หลังจากลูกค้าสั่งไปแล้ว เป็ดย่างจานใหญ่ หมี่ผัก จะเหลืออยู่เท่าไหร่ สามารถดูปริมาณจากคอมพิวเตอร์ได้ เผลอถ้าสินค้าเหลือต่ำกว่าปริมาณสินค้าคงเหลือขั้นต่ำ (Min. Inventory) ก็จะมีสัญญาณเตือน รวมถึงส่งข้อมูลส่งไปที่สำนักงานใหญ่ส่งเป็ดและหมี่ผักเข้ามาผ่านรถขนส่ง
2.3 รายการการสั่งนำส่งบัญชีเพื่อรอเช็คบิล คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณราคาจากที่ลูกค้าสั่ง คือ เป็ดย่างสองและหมี่ผักสอง รวม 500 บาท (สมมติ)

ภาพนี้ก็เป็นอีกแบบหนึ่งที่ใกล้เคียงแต่จะเหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า

3. จากข้อ 2.1 พนักงานจัดเป็ดและหมี่ผักให้พนักงานเสิร์ฟ
4. จากข้อ 2.2 พนักงานที่สำนักงานใหญ่เช็คสต๊อกทุกสาขาผ่านจอคอมพิวเตอร์ แล้วเตรียมส่งของออกไป โดยมีการวางแผนการขนส่งที่คุ้มค่าที่สุด (optimization logistic)
5. จากข้อ 2.3 หลังจากลูกค้าเช็คบิล พนักงานก็คีย์แจ้งที่เคาเตอร์แล้วเคาเตอร์ก็ปรินท์ใบเสร็จออกมา โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามาดีดลูกคิดคำนวณอะไรเลย

นี่ก็เป็นตัวอย่างประโยชน์ของการทำระบบโดยเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยที่ลดความผิดพลาดจากการสั่งและการคิดเงิน ซึ่งสร้างความสะดวกและสร้าง value หรือมูลค่าให้กับธุรกิจได้ และยังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกค้าด้วย


นี่ก็เป็นตัวอย่างง่ายๆของการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ความจริงแล้วยังมีอีกหลายองค์กรที่เอามาใช้เช่น 7-11 เอาระบบบาร์โค้ดมาใช้ในการจัดการสินค้าคงเหลือโดยที่พนักงานไม่ต้องเสียเวลามานั่งนับทีละชิ้นๆ

สำหรับวันนี้ก็พอหอมปากหอมคอนะครับ พบกันใหม่บทความหน้านะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น