วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

AEC project: ตัวอย่างโครงการเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

AEC Project: ฟาร์มโชคชัย
View more documents from djkoman.

นี่ก็เป็นไฟล์ตัวอย่างโครงการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยผมได้ทำเป็นรายงานในวิชาตอนเรียนป.โท ลองเอาไปเป็นตัวอย่างเพื่อปรับใช้กันได้


ข้อมูลประกอบจากเว็บฟาร์มโชคชัย
ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

AEC: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015

สวัสดีชาว SMEfriend ในช่วงก่อนสิ้นปี 2554 วันนี้ไม่พูดมาก ขอพูดถึงเรื่องที่สำคัญกับประเทศไทยและคนไทยทุกคนไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่ คือ การที่ประเทศในอาเซียนจะจับมือกันตั้ง "ประชาคมอาเซียน" (AEC: Asian Economic Committee) ซึ่งจะเริ่มอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2558 หรือปี 2015


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร
สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN Summit ปี 2545 ทุกประเทศในอาเซียนได้ตกลงร่วมกันในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (เหมือนกับประชาคมยุโรปหรือ EU) คือเป็นจับมือกันทางการค้า เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา พูดง่ายๆคือทุกอย่างในแต่ละประเทศอาเซียนมี โดยมีการให้แต่ละประเทศเป็นเจ้าภาพในด้านต่างๆดังนี้


ประเทศพม่า เป็นผู้รับผิดชอบด้านการประมง (ติดมหาสมุทรอินเดีย) และด้านการเกษตร (พื้นที่อุดมสมบูรณ์)
ประเทศมาเลเซีย รับผิดชอบด้านยางพาราและสิ่งทอ
ประเทศอินโดนีเซีย รับผิดชอบด้านป่าไม้และยานยนต์
ประเทศฟิลิปปินส์ รับผิดชอบด้านอิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบด้าน IT และการแพทย์เวชภัณฑ์
สุดท้ายประเทศไทย รับผิดชอบด้านการบิน (Hub of Asian) และการท่องเที่ยว


โดยทุกประเทศสามารถถ่ายโอนวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการภายในอาเซียนได้โดยไม่ต้องมีกำแพงทางภาษี ใครถนัดด้านใดก็เป็นผู้ผลิตทางด้านนั้น เพื่อสร้างอำนาจถ่วงดุลการค้า ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้มหาอำนาจได้ย้ายข้างไปที่จีนและอินเดียแล้ว สืบเนื่องจากยุโรปและอเมริกามีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจอยู่


แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในปี 2015
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเป็นประชาคมแล้ว สามารถอธิบายเป็นข้อๆได้ง่ายตามหลัก 5M


Man หรือ Labor หรือแรงงาน
แน่นอนการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรีภายในประเทศอาเซียน เพราะสายอาชีพที่เป็อาชีพที่ต้องมีวิชาชีพ เช่น หมอ เภสัชกร วิศวกร ครูอาจารย์ อะไรทำนองนี้ก็จะใช้มาตรฐานเดียวกันของวิชาชีพ ทำให้สามารถไปประกอบอาชีพที่ประเทศไหนก็ได้ ผลกระทบก็คือ อาชีพที่ขาดแคลนก็อาจจะขาดแคลนขึ้นมาก เช่น ครู เนื่องจากครูที่สิงคโปร์มีเงินเดือนสูงมาก เช่นเดียวกับอาชีพหมอก็ตาม และการเข้ามาแทนที่แรงงานท้องถิ่น เช่นหมอสิงคโปร์จะเข้ามาไทยมากขึ้นเพราะมีความรู้ความสามารถมากกว่า ทำให้เยาวชนที่จะเติบโตข้างหน้าจะลำบากมากในการหางาน


Money หรือเงินทอง
จะมีการหลั่งไหลของทุนต่างชาติเข้ามามาก เช่นกองทุนเทมาเสกของสิงคโปร์ก็อาจจะเข้ามายึดครองตลาดหุ้นในไทยก็ได้ เช่นเดียวกับนักธุรกิจไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ง่าย รวมถึงการเปลี่ยนสกุลเงินมาใช้สกุลเงินกลางเหมือนเงินยูโร ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการค้าขายมากขึ้น


Material หรือวัตถุดิบ สินค้าและบริการ
ต้นทุนวัตถุดิบในประเทศอาจเพิ่มขึ้นและลดลงในบางประเภท เช่น ยางพาราในประเทศจะต้องต่ำลงเนื่องจากการนำเข้าของยางพาราจากมาเลเซีย เช่นเดียวกับอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่มากจากสิงคโปร์ แต่ไทยจะได้เปรียบในการเป็นฮับด้านการบินและการท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Supply-Chain) สามารถลืมตาอ้าปากได้ เช่น การขนส่ง (Logistic) ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ก็ได้มีการเตรียมเปิดโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ เฟสสองและสามเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพราะประเทศไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางทางภูมิภาค สามารถเดินทางไปเที่ยวในประเทศอินโดจีนได้ ซึ่งอนาคตอาจจะรวมถึงรถไไฟฟ้าความเร็วสูงจากพม่ามายังสิงคโปร์ก็เป็นได้ เพราะตอนนี้จีนก็เริ่มเข้ามาเมียงมองการลงทุนการขนส่งระบบรางในไทยแล้ว


Machine หรือเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ
จะคล้ายกับ Material แต่จะเน้นการโยกย้ายฐานการผลิต เช่น ถ้าอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพด้านยานยนต์ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตจากประเทศแม่ก็จะเข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ฐานการผลิตทั้งรถยนต์และอะไหล่อุปกรณ์อาจจะต้องย้ายไปอยู่ที่อินโดนีเซียก็เป็นได้


Method หรือกระบวนการ Know-How รวมถึงการศึกษา
อีกหน่อยอาชีพครูจะเปิดกว้างให้ชาวต่างชาติมากขึ้น ครูที่เป็นเฉพาะด้าน เช่น ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ถนัดมากกว่า รวมถึง Know-How ต่างๆก็จะถูกแบ่งปันภายในกลุ่มอาเซียน
ภาพนี้เป็นการแสดงสถานะของกลุ่มประชาคมต่าๆง ซึ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงของ Common Market หรือตลาดเดียว


นี่ก็เป็นแค่การแนะนำเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคร่าวๆ
สามารถติดตามบทความเกี่ยวกับ AEC ได้เรื่อยๆที่ SMEfirend เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆที่คนไทยเกิน 50 ล้านคนยังไม่รู้ พบกันใหม่ครับ

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Car Park Scanning: ไม่ต้องวนรถให้เสียเวลา

วันนี้ได้มีโอกาสไปดูหนัง Mission Impossible 4: Ghost Protocol ที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว ก่อนที่จะไปพูดถึงเนื้อหา ขอนอกเรื่องเกี่ยวกับหนังสักหน่อย ว่าใครพลาดไปคงเสียดายแย่ แต่ไม่เป็นไรรอ DVD VCD ออกมาค่อยไปอุดหนุนซื้อแผ่นมาสเตอร์มาดูก็ได้


ด้วยความที่ว่าอยากเป็นวันชิลล์สบายๆเลยขับรถเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นครั้งแรกหลังจากที่โดนน้ำท่วมกระหน่ำกันไป ขาไปได้ขับรถขึ้นทางด่วนดอนเมืองโทล์เวย์ ซึ่งทำให้ได้เห็นกองขยะมหึมาตามข้างถนนหรือหน้าชุมชน ซึ่งไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องดีสำหรับสุขอนามัยของประชาชน รวมถึงขากลับที่ได้เห็นกองขยะหน้าตลาดดอนเมืองเรื่อยๆไปจนถึงตรงข้างฟิวเจอร์ ปาร์ค ซึ่งถือว่าเป็นความผิดของผู้นำคือผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีที่ปล่อยปะละเลยกับเรื่องสำคัญอย่างนี้


วันนี้พอเลี้ยวเข้าไปต่อคิวรับบัตรที่ป้อมรปภ.ของเซนทรัลลาดพร้าว ก็สะดุดสายตากับป้ายขนาดประมาณ 50x100 ซม. มีไฟ LED บอกข้อมูลโดยซ้ายสุดจะเป็นเลขของชั้นจอดรถ ด้านขวาจะเป็นตัวเลขแตกต่างกันไป ซึ่งนั่นคือตัวเลขบอกจำนวน "ที่จอดรถว่าง" จะให้สีเขียวซึ่งบ่งบอกว่าขึ้นไปจอดได้ ซึ่งหน้าเสียดายที่รถมันเยอะ ผมเลยไม่ได้ถ่ายรูปมาให้ดู ในใจเลยคิดมาทันทีว่า แล้วมันนับได้อย่างไร ค่าใช้จ่ายต้นทุนมันแพงมั้ยและมีทุกๆสาขาเลยหรือเปล่า ณ ตอนนี้ความอยากรู้เรื่องที่จอดรถนั้นเข้ามาในหัวแล้ว จึงดิ่งขึ้นไปจอดทันที


เมื่่อขับขึ้นไปในแต่ละชั้นจะพบกับป้ายแสดงพื้นที่ว่างของที่จอด โดยเขาจะบอกว่าชั้นนี้ว่างเท่าไหร่ โซนต่างๆในชั้นจะว่างเท่าไหร่ ทำให้ผู้มาใช้บริการนั้นสามารถวางแผนตัวเองได้ว่าจะเข้าไปด้านในหรือขึ้นชั้นต่อไปดี ณ ตอนนี้ในใจเริ่มคิดแล้วว่าถ้าจะนับจำนวนว่าเหลือเท่าไหร่ เต็มหรือยังทำอย่างไร สมองก็คิดเลยว่าทำได้สองวิํธีคือ 1) วัดจากความร้อน 2) ใช้ตัวเซ็นเซอร์แบบอินฟาเรด ดังนั้นเลยตั้งใจขับขึ้นไปชั้น 2 1/2C ซึ่งป้ายบอกว่าว่างอยู่ 378 คัน ซึ่งเมื่อไปถึงก็พบว่าว่างจริงๆ เมื่อผมขับเข้าไปยังช่องว่างใกล้ๆทางเข้าแล้วก็พบว่า สมมติฐานตัวเองถูกต้องคือเขาได้ออกแบบตัวนับโดยใช้เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งด้านบนเพดานในแต่และซองจอด เวลาไม่มีรถจอดจะไม่มีไฟขึ้น แต่พอจอดรถปุ๊บไฟแดงก็จะขึ้น ณ ตอนนั้นจำนวนก็คงลดลงไปด้วย ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นแบบ real time อย่างข้างมาก ซึ่งว่ามันคือนวัตกรรมการจอดรถของประเทศไทยเลยทีเดียว






ในด้านธุรกิจซึ่งถือว่าใช้เงินลงทุนมากทีเดียว แต่ถ้ามองถึงประโยชน์และการบริหารการจอดรถนั้นถือว่าคุ้มมาก เพราะลูกค้าจะไม่หงุดหงิดกับการเลือกชั้นจอดรถเลย ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานน้ำมันรถด้วย ซึ่งถือว่าเป็นความประทับใจตอนสิ้นปีของผมเลยก็ว่าได้ ซึ่งหวังว่าห้างสรรพสินค้าอื่นๆทั้งค้าปลีกหรือสโตร์ต่างๆจะนำไปใช้กันบ้างนะครับ

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

BSC: ประเมินผลงานผ่าน KPI

สวัสดีชาว SMEfriend ทุกๆคนนะครับ ก่อนอื่นขอออกตัวเลยว่าช่วงนี้อาการไม่ค่อยดียังป่วยไม่หาย แต่ด้วยความคันไม้คันมืออยากนำเสนอความรู้ดีๆให้ทุกๆคนได้อ่านกัน ก็เลยฝืนสังขารมาเขียน เพราะสัญญาต้องเป็นสัญญา


ช่วงนี้หลายๆบริษัทหลายๆองค์กรก็จะเข้าสู่วันหยุดยาวๆแล้ว ใครมีแผนเอาโบนัสไปซื้ออะไรก็คิดหน้าคิดหลังไว้บ้างนะครับ ถ้าจะเอาไปซ่อมบ้านหลังน้ำท่วมก็ขอให้วางแผนดีๆเพราะอย่างที่รู้โลกเราเปลี่ยนไปมาก อะไรที่แน่มักไม่แน่ ช่วงนี้ห้างใหญ่หลายๆที่เริ่มลดกระหน่ำเครื่องไฟฟ้า ใครเมียงมองก็ลองไปดูได้ บวกกับค่ายมือถือเตรียมนำ iPhone 4S มาให้จับจอง ราคาตั้งแต่สองหมื่นต้นๆไปถึงสามหมื่นเลย ยังไงก็อย่าใจร้อนปีหน้า iPhone 5 มาแน่ รวมถึง iPad 3 ก็ไม่น่าพลาด เพราะ 4G ที่อเมริกากำลังมา (บ้านเรา 3G ยังเป็นหมันเลย) เกริ่นมาหอมปากหอมคอ ก่อนที่จะได้โบนัสนั้น เราก็รู้ใช่มั้ยครับว่ามันต้องมีการประเมินกันก่อน ใครจะมาแจกเงินเราง่ายๆถ้าเราไม่ได้ทำผลงาน ซึ่งการประเมินผลที่ได้รับนิยมมาแต่ช้านานคือการใช้หลัก BSC: Balanced Scorecard หรือแปลแบบไทยๆว่า... อย่าแปลดีกว่า เพราะเดี๋ยวความหมายจริงๆจะเพี้ยน โดยมุมที่ทาง BSC สนใจนั้นมีอยู่ 4 ด้านคือ
1. มุมมองด้านการเงิน ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญของเรื่องการเงิน รายได้ รายจ่ายขององค์กรเป็นหลัก
2. มุมมองด้านกระบวนการภายในองค์กร ให้ความสำคัญของเรื่องภายในองค์กรเป็นหลัก เช่น การประสานงาน ขั้นตอนการผลิตหรือการบริการ 
3. มุมมองด้านลูกค้า เน้นเรื่องของการบริการหรือพวกความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก (Customer Satisfaction)
4. มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต เน้นการพัฒนาขององค์กร หน่วยงานรวมถึงตัวพนักงานเอง


ในการประเมินผลงานขององค์กรและพนักงานภายในไม่ว่าจะองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ภาครัฐหรือเอกชนก็สามารถนำหลัก BSC ไปใช้ได้ โดยนำหัวข้อหรือมุมมองทั้งสี่ด้านมาเป็นตัวตั้งของหัวข้อการประเมิน เช่น



  • มุมมองด้านการเงิน องค์กรอาจจะตั้งเป้าผลกำไร เช่น ปี 55 จะต้องได้กำไรไม่ต่ำกว่า 20 ล้าน หรือตั้งยอดขายไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
  • มุมมองด้านกระบวนการภายใน องค์กรอาจตั้งเป้าให้เพิ่มกำลังการผลิตขึ้น 20%
  • มุมมองด้านลูกค้า อาจตั้งเป้าให้มีการเคลมจากลูกค้าลดลงไม่เกิน 10%ของยอดขาย
  • มุมมองการเรียนรู้และเติบโต อาจตั้งเป้าโดยให้มีการอบรมเรื่องความปลอดภัยไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง



นี่ก็เป็นตัวอย่างคร่าวๆของการนำเอามุมมอง BSC มาใช้
แต่แต่หัวข้อนั้นอย่างเดียวไม่พอ จะต้องมีตัวชี้วัดด้วย เพื่อให้ได้เป็นตัวประเมิน ถ้าเปรียบเทียบก็คือเกรดสมัยเราเรียนหนังสือนั่นล่ะ เกรด 1-4 อะไรประมาณนั้น โดนในเรื่องของตัวชี้วัดของแต่ละองค์กรจะไม่เหมือนกันถึงแม้จะเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเดียวกัน ยกตัวอย่างง่ายให้ดู


สมมติว่า บริษัท A ดำเนินธุรกิจรีสอร์ท ตั้งเป้าหมายขององค์กรตาม KPI หัวข้อของ BSC ดังนี้
มุมมองด้านการเงิน
     เกรด A กำไร 5 ล้าน
     เกรด B กำไร 4 ล้าน
     เกรด C กำไร 3 ล้าน
     เกรด D กำไร 2 ล้าน
ถ้าพนักงานขายสามารถหาลูกค้าได้เท่าไหร่ก็จะประเมินตามเกรดนั้น


นี่ก็เป็นหลักการอธิบายง่ายๆเรื่อง BSC กับ KPI สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ภาครัฐหรือเอกชน
ถ้าใครสงสัยก็ติดต่อมาทาง Facebook หรือทาง email ได้ esmeservices@gmail.com

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

SMEfriend: Map for SMEs: แผนที่สำคัญไฉน?

SMEfriend: Map for SMEs: แผนที่สำคัญไฉน?: สวัสดีชาว SMEs และ SMEfriend ทุกๆคน วันนี้เป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ" วันนี้เป็นบทความที่มาจากอารมณ์ส่วนตัวล้วนๆแต่...

Map for SMEs: แผนที่สำคัญไฉน?

สวัสดีชาว SMEs และ SMEfriend ทุกๆคน วันนี้เป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"


วันนี้เป็นบทความที่มาจากอารมณ์ส่วนตัวล้วนๆแต่รับรองมีสาระแน่นอน เพราะวันนี้เป็นบทความที่เขียนมาจากประสบการณ์ตรงและผมเชื่อว่าหลายๆคนที่เป็นคนชอบเดินทาง ชอบกิน ชอบเที่ยว นั้นต้องประสบพบเจอแน่นอนคือ "แผนที่" ใช่แล้วครับแผนที่ เคยไหมที่เราลองเสิร์ชจากอินเตอร์เน็ตแล้วเจอร้านหรือรีสอร์ทที่ใช่แล้ว พอจะไปลองกินลองเที่ยวดูกลับหาแผนที่ไม่ได้หรือไม่ก็แผนที่ไม่เคลียร์ อ่านแล้วงง สรุปขับรถหาไม่เจอ.... นั่นล่ะครับ วันนี้ผมจะพูดถึงการทำแผนที่ ไม่ว่าจะลงในเว็บไซต์หรือตามโบรชัวร์ เพื่อจะได้ให้ลูกค้าได้มาหาเราได้อย่างง่ายดาย


ประเภทของแผนที่ธุรกิจ
1. แผนที่ทำขึ้นเอง เป็นแผนที่ที่เจ้าของธุรกิจได้จัดทำขึ้นหรือว่าจ้างคนอื่นทำก็แล้วแต่ แต่สรุปก็คือเป็นแผนที่ส่วนตัวของธุรกิจเอง โดยแผนที่ประเภทนี้จะถูกเขียนขึ้นเองตามที่เจ้าของได้ออกแบบ โดยกำหนดจุดเด่นสถานที่ใกล้เคียงสำคัญๆมาไว้รอบๆตำแหน่ง ซึ่งจะไม่เน้นอิงตามสัดส่วนหรือทิศทางมากนัก
ตัวอย่าง
2. แผนที่ก๊อปมาจากคนอื่นๆ เป็นแผนที่ที่เจ้าของธุรกิจก๊อปปี้มากจากของคนอื่นๆ เช่น ของหน่วยงานรัฐ ของธุรกิจที่ใกล้เคียงแล้วจัดทำเอาตำแหน่งของธุรกิจตนเข้าไปแทน
ตัวอย่าง
3. แผนที่ของ Google คือแผนที่ที่เอาของ Google Map มาใช้เลย โดยจะเป็นลิงค์หรือภาพหรือระบบฝัง (Embed Map) ฝังในเว็บไซต์ ซึ่งลูกค้าที่สนใจสามารถซูมดูได้ และได้ตำแหน่งที่แท้จริง สเกลจริงด้วย และยังสามารถใช้การคำนวณระยะทางได้ด้วย ซึ่งข้อเสียก็คือมันจะไม่ค่อยระบุสถานที่ใกล้เคียงมาให้ ซึ่งอาจทำให้ผิดพลาดเวลาใช้งานจริงก็ได้
ตัวอย่าง

แล้วแผนที่ที่ดีล่ะ เป็นยังไง???


ผมขออธิบายง่ายๆเลยนะครับว่า เราก๊อปเอาข้อดีของทั้่งสามแบบด้านบนที่เอ่ยมา มาเขียนแผนที่ของธุรกิจของเราเอง โดยใช้โปรแกรมง่ายๆ เช่น Paint (Microsoft) Google Sketch-up หรือ Photoshop ก็ได้แล้วแต่ความถนัด ซึ่งจริงๆแล้วแผนที่ที่ดีจะต้องประกอบด้วยเนื้อหาไม่ใช่ความสวยงาม ดังนี้


1. ตำแหน่งของธุรกิจที่ชัดเจน ติดถนนหรือเข้าซอยต้องเอาให้ชัดเจน
2. สถานที่สำคัญใกล้เคียง เช่น สถานที่ราชการ วัด หรือร้านค้า เช่น 7-11 Lotus เป็นต้น
3. ทิศทาง ควรกำหนดตำแหน่งของทิศเหนือหรือสัญลักษณ์ทิศเหนือหรือ N ไว้อย่างชัดเจน
4. สเกลพอประมาณ ไม่ต้องเป๊ะมากแต่ก็ขอให้คนอ่านพอเข้าใจ ทางที่ดีควรระบุระยะเป็นกม.หรือม.ไว้จะดีมาก
5. รายละเอียด ควรระบุรายละเอียดของตำแหน่งเป็นตัวอักษร เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไว้ในแผนที่


ลองเอาสิ่งที่บอกไว้ 4 ข้อสำหรับแผนที่แล้วนำไปเขียนหรือออกแบบให้คนที่ชำนาญเขียนก็ได้ หวังว่าคงจะลดจุดบอดของแผนที่ธุรกิจได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


ตัวอย่างแผนที่ที่ดี
แผนที่ของม.เทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถือว่าทำได้ดีเลยทีเดียว เพราะสามารถอธิบายทิศทางการมาได้หลากหลายเส้นทาง


แผนที่ของพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง ตลาด 100 ปีสามชุก นี่ก็อธิบายได้ดีเหมือนกัน แต่มุมมองแคบไปนิด ถ้าเป็นคนต่างถิ่นจะเข้าใจยากพอควร


แผนที่ของโรงแรมตะวันนา อธิบายได้ดีทีเดียว มีสถานที่สำคัญๆใกล้เคียงไว้ให้หาได้ง่าย