วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

AEC: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015

สวัสดีชาว SMEfriend ในช่วงก่อนสิ้นปี 2554 วันนี้ไม่พูดมาก ขอพูดถึงเรื่องที่สำคัญกับประเทศไทยและคนไทยทุกคนไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่ คือ การที่ประเทศในอาเซียนจะจับมือกันตั้ง "ประชาคมอาเซียน" (AEC: Asian Economic Committee) ซึ่งจะเริ่มอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2558 หรือปี 2015


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร
สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN Summit ปี 2545 ทุกประเทศในอาเซียนได้ตกลงร่วมกันในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (เหมือนกับประชาคมยุโรปหรือ EU) คือเป็นจับมือกันทางการค้า เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา พูดง่ายๆคือทุกอย่างในแต่ละประเทศอาเซียนมี โดยมีการให้แต่ละประเทศเป็นเจ้าภาพในด้านต่างๆดังนี้


ประเทศพม่า เป็นผู้รับผิดชอบด้านการประมง (ติดมหาสมุทรอินเดีย) และด้านการเกษตร (พื้นที่อุดมสมบูรณ์)
ประเทศมาเลเซีย รับผิดชอบด้านยางพาราและสิ่งทอ
ประเทศอินโดนีเซีย รับผิดชอบด้านป่าไม้และยานยนต์
ประเทศฟิลิปปินส์ รับผิดชอบด้านอิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสิงคโปร์ รับผิดชอบด้าน IT และการแพทย์เวชภัณฑ์
สุดท้ายประเทศไทย รับผิดชอบด้านการบิน (Hub of Asian) และการท่องเที่ยว


โดยทุกประเทศสามารถถ่ายโอนวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการภายในอาเซียนได้โดยไม่ต้องมีกำแพงทางภาษี ใครถนัดด้านใดก็เป็นผู้ผลิตทางด้านนั้น เพื่อสร้างอำนาจถ่วงดุลการค้า ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้มหาอำนาจได้ย้ายข้างไปที่จีนและอินเดียแล้ว สืบเนื่องจากยุโรปและอเมริกามีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจอยู่


แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในปี 2015
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเป็นประชาคมแล้ว สามารถอธิบายเป็นข้อๆได้ง่ายตามหลัก 5M


Man หรือ Labor หรือแรงงาน
แน่นอนการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรีภายในประเทศอาเซียน เพราะสายอาชีพที่เป็อาชีพที่ต้องมีวิชาชีพ เช่น หมอ เภสัชกร วิศวกร ครูอาจารย์ อะไรทำนองนี้ก็จะใช้มาตรฐานเดียวกันของวิชาชีพ ทำให้สามารถไปประกอบอาชีพที่ประเทศไหนก็ได้ ผลกระทบก็คือ อาชีพที่ขาดแคลนก็อาจจะขาดแคลนขึ้นมาก เช่น ครู เนื่องจากครูที่สิงคโปร์มีเงินเดือนสูงมาก เช่นเดียวกับอาชีพหมอก็ตาม และการเข้ามาแทนที่แรงงานท้องถิ่น เช่นหมอสิงคโปร์จะเข้ามาไทยมากขึ้นเพราะมีความรู้ความสามารถมากกว่า ทำให้เยาวชนที่จะเติบโตข้างหน้าจะลำบากมากในการหางาน


Money หรือเงินทอง
จะมีการหลั่งไหลของทุนต่างชาติเข้ามามาก เช่นกองทุนเทมาเสกของสิงคโปร์ก็อาจจะเข้ามายึดครองตลาดหุ้นในไทยก็ได้ เช่นเดียวกับนักธุรกิจไทยสามารถไปลงทุนในต่างประเทศได้ง่าย รวมถึงการเปลี่ยนสกุลเงินมาใช้สกุลเงินกลางเหมือนเงินยูโร ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการค้าขายมากขึ้น


Material หรือวัตถุดิบ สินค้าและบริการ
ต้นทุนวัตถุดิบในประเทศอาจเพิ่มขึ้นและลดลงในบางประเภท เช่น ยางพาราในประเทศจะต้องต่ำลงเนื่องจากการนำเข้าของยางพาราจากมาเลเซีย เช่นเดียวกับอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่มากจากสิงคโปร์ แต่ไทยจะได้เปรียบในการเป็นฮับด้านการบินและการท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Supply-Chain) สามารถลืมตาอ้าปากได้ เช่น การขนส่ง (Logistic) ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ก็ได้มีการเตรียมเปิดโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ เฟสสองและสามเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพราะประเทศไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางทางภูมิภาค สามารถเดินทางไปเที่ยวในประเทศอินโดจีนได้ ซึ่งอนาคตอาจจะรวมถึงรถไไฟฟ้าความเร็วสูงจากพม่ามายังสิงคโปร์ก็เป็นได้ เพราะตอนนี้จีนก็เริ่มเข้ามาเมียงมองการลงทุนการขนส่งระบบรางในไทยแล้ว


Machine หรือเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ
จะคล้ายกับ Material แต่จะเน้นการโยกย้ายฐานการผลิต เช่น ถ้าอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพด้านยานยนต์ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตจากประเทศแม่ก็จะเข้าไปลงทุนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ฐานการผลิตทั้งรถยนต์และอะไหล่อุปกรณ์อาจจะต้องย้ายไปอยู่ที่อินโดนีเซียก็เป็นได้


Method หรือกระบวนการ Know-How รวมถึงการศึกษา
อีกหน่อยอาชีพครูจะเปิดกว้างให้ชาวต่างชาติมากขึ้น ครูที่เป็นเฉพาะด้าน เช่น ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศที่ถนัดมากกว่า รวมถึง Know-How ต่างๆก็จะถูกแบ่งปันภายในกลุ่มอาเซียน
ภาพนี้เป็นการแสดงสถานะของกลุ่มประชาคมต่าๆง ซึ่งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2015 ซึ่งน่าจะอยู่ในช่วงของ Common Market หรือตลาดเดียว


นี่ก็เป็นแค่การแนะนำเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคร่าวๆ
สามารถติดตามบทความเกี่ยวกับ AEC ได้เรื่อยๆที่ SMEfirend เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากๆที่คนไทยเกิน 50 ล้านคนยังไม่รู้ พบกันใหม่ครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. อาจไม่เกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อถึงสิ้นปี 2015
    http://www.chanchaivision.com/2014/07/AEC-2015-Unfinished-140720.html

    ตอบลบ