วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Map for SMEs: แผนที่สำคัญไฉน?

สวัสดีชาว SMEs และ SMEfriend ทุกๆคน วันนี้เป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย "ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"


วันนี้เป็นบทความที่มาจากอารมณ์ส่วนตัวล้วนๆแต่รับรองมีสาระแน่นอน เพราะวันนี้เป็นบทความที่เขียนมาจากประสบการณ์ตรงและผมเชื่อว่าหลายๆคนที่เป็นคนชอบเดินทาง ชอบกิน ชอบเที่ยว นั้นต้องประสบพบเจอแน่นอนคือ "แผนที่" ใช่แล้วครับแผนที่ เคยไหมที่เราลองเสิร์ชจากอินเตอร์เน็ตแล้วเจอร้านหรือรีสอร์ทที่ใช่แล้ว พอจะไปลองกินลองเที่ยวดูกลับหาแผนที่ไม่ได้หรือไม่ก็แผนที่ไม่เคลียร์ อ่านแล้วงง สรุปขับรถหาไม่เจอ.... นั่นล่ะครับ วันนี้ผมจะพูดถึงการทำแผนที่ ไม่ว่าจะลงในเว็บไซต์หรือตามโบรชัวร์ เพื่อจะได้ให้ลูกค้าได้มาหาเราได้อย่างง่ายดาย


ประเภทของแผนที่ธุรกิจ
1. แผนที่ทำขึ้นเอง เป็นแผนที่ที่เจ้าของธุรกิจได้จัดทำขึ้นหรือว่าจ้างคนอื่นทำก็แล้วแต่ แต่สรุปก็คือเป็นแผนที่ส่วนตัวของธุรกิจเอง โดยแผนที่ประเภทนี้จะถูกเขียนขึ้นเองตามที่เจ้าของได้ออกแบบ โดยกำหนดจุดเด่นสถานที่ใกล้เคียงสำคัญๆมาไว้รอบๆตำแหน่ง ซึ่งจะไม่เน้นอิงตามสัดส่วนหรือทิศทางมากนัก
ตัวอย่าง
2. แผนที่ก๊อปมาจากคนอื่นๆ เป็นแผนที่ที่เจ้าของธุรกิจก๊อปปี้มากจากของคนอื่นๆ เช่น ของหน่วยงานรัฐ ของธุรกิจที่ใกล้เคียงแล้วจัดทำเอาตำแหน่งของธุรกิจตนเข้าไปแทน
ตัวอย่าง
3. แผนที่ของ Google คือแผนที่ที่เอาของ Google Map มาใช้เลย โดยจะเป็นลิงค์หรือภาพหรือระบบฝัง (Embed Map) ฝังในเว็บไซต์ ซึ่งลูกค้าที่สนใจสามารถซูมดูได้ และได้ตำแหน่งที่แท้จริง สเกลจริงด้วย และยังสามารถใช้การคำนวณระยะทางได้ด้วย ซึ่งข้อเสียก็คือมันจะไม่ค่อยระบุสถานที่ใกล้เคียงมาให้ ซึ่งอาจทำให้ผิดพลาดเวลาใช้งานจริงก็ได้
ตัวอย่าง

แล้วแผนที่ที่ดีล่ะ เป็นยังไง???


ผมขออธิบายง่ายๆเลยนะครับว่า เราก๊อปเอาข้อดีของทั้่งสามแบบด้านบนที่เอ่ยมา มาเขียนแผนที่ของธุรกิจของเราเอง โดยใช้โปรแกรมง่ายๆ เช่น Paint (Microsoft) Google Sketch-up หรือ Photoshop ก็ได้แล้วแต่ความถนัด ซึ่งจริงๆแล้วแผนที่ที่ดีจะต้องประกอบด้วยเนื้อหาไม่ใช่ความสวยงาม ดังนี้


1. ตำแหน่งของธุรกิจที่ชัดเจน ติดถนนหรือเข้าซอยต้องเอาให้ชัดเจน
2. สถานที่สำคัญใกล้เคียง เช่น สถานที่ราชการ วัด หรือร้านค้า เช่น 7-11 Lotus เป็นต้น
3. ทิศทาง ควรกำหนดตำแหน่งของทิศเหนือหรือสัญลักษณ์ทิศเหนือหรือ N ไว้อย่างชัดเจน
4. สเกลพอประมาณ ไม่ต้องเป๊ะมากแต่ก็ขอให้คนอ่านพอเข้าใจ ทางที่ดีควรระบุระยะเป็นกม.หรือม.ไว้จะดีมาก
5. รายละเอียด ควรระบุรายละเอียดของตำแหน่งเป็นตัวอักษร เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไว้ในแผนที่


ลองเอาสิ่งที่บอกไว้ 4 ข้อสำหรับแผนที่แล้วนำไปเขียนหรือออกแบบให้คนที่ชำนาญเขียนก็ได้ หวังว่าคงจะลดจุดบอดของแผนที่ธุรกิจได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


ตัวอย่างแผนที่ที่ดี
แผนที่ของม.เทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถือว่าทำได้ดีเลยทีเดียว เพราะสามารถอธิบายทิศทางการมาได้หลากหลายเส้นทาง


แผนที่ของพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง ตลาด 100 ปีสามชุก นี่ก็อธิบายได้ดีเหมือนกัน แต่มุมมองแคบไปนิด ถ้าเป็นคนต่างถิ่นจะเข้าใจยากพอควร


แผนที่ของโรงแรมตะวันนา อธิบายได้ดีทีเดียว มีสถานที่สำคัญๆใกล้เคียงไว้ให้หาได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น