วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

Personal Tax: ภาษีคนเดินดิน ภาค 1 "รู้จักโครงสร้าง"

สวัสดีชาว SMEfriend กลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนาน (แต่คงจะไม่ลืมกันนะครับ) ก็เรื่องเดิมๆคืองานประจำมันรัดตัวเหลือเกิน แต่วันนี้กลับมาเพราะใจมันเรียกร้องให้เขียนเหลือเกิน เพราะเป็นข่าวหน้าหนึ่งทั้งนสพ.ปกติและนสพ.บันเทิงกับประเด็นดาราสาวเลี่ยงภาษีโดยให้ใครก็ไม่รู้มารับเช็คแล้วใช้ชื่อแทน ซึ่งจริงเท็จยังไงผมไม่อาจจะไปก้าวก่ายมาก เพราะถือเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ใครจ่ายจริงก็ช่วยชาติ ใครเลี่ยงภาษีก็อย่าบอกว่ารักประเทศเลย แต่ประเด็นที่จะพูดถึงก็คือ "ไม่เลี่ยง แต่จ่ายน้อยลงได้มั้ย" ซึ่งจะให้เขียนทีเดียวหมดก็คงไม่ไหว ผมก็ขอแตกประเด็นเป็นหลายๆประเด็นดังนี้นะครับ
1) โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ประกอบด้วยอะไรยังไงบ้าง
2) ทำอย่างไรจะเสียภาษีลดลง มีวิธีไหนบ้าง
สำหรับภาคนี้ก็ขอเริ่ม introduce เรื่องภาษีบุคคลธรรมดาของสยามประเทศเรากันเลยนะครับ

ภาษีบุคคลธรรมดา
ภาษีบุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่ให้บุคคลทั่วไปที่มีรายได้จะต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ โดยผู้ที่ประกอบอาชีพในหลากหลายสาขาก็จะต้องเสียภาษี ซึ่งแต่ละสาขาจะมีการคิดภาษีแตกต่างกันไป
โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา
การที่เราจะรู้ว่าเราสามารถจ่ายภาษีลดลงตรงไหนบ้างนั้น เราจำเป็นต้องรู้จักโครงสร้างของภาษีบุคคลธรรมดาเสียก่อน เพื่อ "รู้เขา รู้เรา" ทำให้เราสามารถรู้ช่องทางในการลดหย่อนภาษีได้ โดยที่โครงสร้างของภาษีบุคคลธรรมดาของไทยแลนด์นั้นประกอบด้วยส่วนต่างๆคือ

1. รายได้พีงประเมิน ตามอาชีพต่างๆ >>> ภาค 1
2. ส่วนที่หัก "ค่าใช้จ่าย" (ตามแต่ละสาขาอาชีพ) >>> ภาค 1
3. ส่วนลดหย่อน >>> ภาค 2
4. ส่วนหัก "เงินบริจาค" >>> ภาค 2
5. เงินได้สุทธิ (เอาไปคำนวณภาษี) >>> ภาค 2
5. ส่วนต่างๆที่ต้องหัก เช่น หักเงินภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภาษีรถยนต์ (อนาคต) >>> ภาค 3
6. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีส่วนเกิน >>> ภาค 3

รายได้พึงประเมิน
รายได้พึงประเมิน ถ้าพูดเป็นภาษาไทยก็คือเงินที่เราได้มาจากการทำมาหากินน่ะล่ะ หลากหลายอาชีพรายได้ก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นเขาจึงแบ่งรายได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 เงินที่ได้จากการจ้างงาน
- เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้าน (สำหรับที่องค์กรหรือบริษัทให้)
- เงินที่นายจ้างออกให้ (แต่จริงๆเราออกเอง)
- เงิน ทรัพย์สินหรืออะไรก็ได้ที่ได้มาจากการจ้างงาน เช่น รถยนต์ บ้าน ที่บริษัทมอบให้
ประเภทที่ 2 เงินประจำตำแหน่ง
- เบี้ยประชุม
- รายได้อื่นๆที่ได้มาเพราะตำแหน่ง
ประเภทที่ 3 ค่ากู๊ดวิลล์ (ยากเลย..)
- เงินจากค่าลิขสิทธิ์รายปี
- เงินพินัยกรรมรายปี
ประเภทที่ 4 ดอกเบี้ย ปันผลจากการโอนหุ้น
- ดอกเบี้ยจากพันธะบัตร หุ้นกู้
- เงินปันผล ผลกำไรจากกุ้น
- ผลประโยชน์จากการร่วมหุ้นบริษัท
*** สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายได้
ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
ประเภทที่ 6 เงินได้จากการวิชาชีพอิสระ
- ทนายความ หมอ วิศวกร สถาปัตย์ บัญชี
ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมา
ประเภทที่ 8 เงินได้จากการทำธุรกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ขนส่ง อสังหาริมทรัพย์

รายการหักจากรายได้พึงประเมิน
ประเภทที่ 1 เงินที่ได้จากการจ้างงาน
ประเภทที่ 2 เงินประจำตำแหน่ง
ทั้งสองประเภท จะมีรายการหักค่าใช้ตจ่ายคือ
1) เงินสะสมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข.
2) ค่าใช้จ่ายของผู้เสียภาษี 40% ของรายได้พึงประเมินสองประเภทหักเงินสะสมต่างๆ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท
3) ค่าใช้จ่ายของคู่สมรส (กรณีจ่ายร่วมกัน)

ประเภทที่ 3 ค่ากู๊ดวิลล์ (ยากเลย..)
- ค่าลิขสิทธิ์ของผู้เสียภาษีและคู่สมรสหัก 40%ของรายได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท

ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
- โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หักค่าใช้จ่าย 30% ของเงินได้หรือตามจริง (ถ้ามีเอกสารแนบ)

ประเภทที่ 6 เงินได้จากการวิชาชีพอิสระ
- หักค่าใช้จ่าย 60% ของรายได้หรือตามจริง

ประเภทที่ 7 เงินได้จากการรับเหมา
- หักค่าใช้จ่าย 70% ของรายได้หรือตามจริง

ประเภทที่ 8 เงินได้จากการทำธุรกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ขนส่ง อสังหาริมทรัพย์

หลังจากที่เราได้คำนวณรายได้พึงประเมินรวม ทั้ง 8 ประเภทพร้อมหักค่าใช้จ่ายออกไปแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำไปหักค่าลดหย่อน ซึ่งติดตามต่อไปในภาคที่ 2 นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น