วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

NEW TV ERA: เปิดยุคทองทีวีดาวเทียม สงครามแย่งชิงมวลชน

              สวัสดีชาว SMEfriend กันในช่วงเดือนสิงหาคม (เดือนที่มีวันหยุดเยอะมากๆ) หายหน้าหายตาไปนาน เนื่องจากว่างานประจำนั้นรัดตัวเหลือเกิน แต่ก็ยังมีไฟในการเขียนบทความเรื่องราวดีๆเพื่อแบ่งปันสาระความรู้ที่คุณอาจจะมองข้ามไปในเรื่องธุรกิจ หวังว่าหลายๆคนจะติดตามกันไปเรื่อยๆ อ่อ!!! ลืมบอกไป ตอนนี้ผมจะให้ความสำคัญกับแฟนเพจ facebook.com/beSMEfriend มากขึ้นๆ เพราะเป็นช่องทางที่สะดวกในการแชร์ความรู้ด้านธุรกิจ โดยในทุกๆวันผมจะพยายามหาข้อมูลใหม่ๆที่เป็นประโยชน์มานำเสนอกันตลอดทั้งวัน 24 ชม. 
              กลับมาเข้าเรื่องเนื้อหาหลักๆของเราดีกว่า เรื่องของทีวีดาวเทียมนี้เป็นเรื่องที่ผมอยากเขียนมานานแล้วตั้งแต่มียุคทีวีจอดำในช่วงยูโรเมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา แต่ก็คิดว่ามันก็แค่เรื่องขัดแย้งทางธุรกิจ แต่วันนี้ผมได้อ่านข่าวว่าทรูวิชั่นเปิด “ทรูทีวี” ผนึกกับ “PSI” เปิดกล่องรับสัญญาณใหม่เพิ่มช่องทรูวิชั่นเจ๋งทั้งช่องภาพยนต์ดังๆ รวมทั้งเอาใจคอฟุตบอลพรีเมียร์ลีกไทยและอังกฤษได้ดูกันฟรีๆ (บางคู่) โดยประเด็นที่โดนใจเต็มๆเลยคือการบังคับ “PSI” ตัดช่องของ GMM Grammy ทั้งหมดออกไป นั่นล่ะคือประเด็นที่ผมนั้นจะต้องเขียนถึงให้ได้

ขอบคุณภาพจาก http://static.ddmcdn.com/

จานดาวเทียมสมัยก่อนจนถึงก่อนยุคสงคราม
               พูดถึงจานดาวเทียมสมัยก่อนนั้นเป็นยุคของคนรวยเขาจะมีกัน เพราะแต่ก่อนราคาจะแพงมาก ติดตั้งทีเกือบหมื่นบาท มีอยู่ไม่กี่เจ้า เช่น SAMART, DYNASAT UBC (TrueVision) ต่อมาก็มี PSI IPM และ DTV โดยมีทั้งระบบจ่ายเงินทีเดียวและจ่ายรายเดือน โดยคนส่วนใหญ่ก็จะนิยมซื้อติดและจ่ายเงินทีเดียว จะยกเว้นก็ในสังคมเมืองนั่นล่ะที่จะยอมเสียรายเดือนของ TrueVision ที่ไต่ราคาจากหลักร้อยจนปัจจุบันมีราคาถึงสองพันกว่าบาทขึ้นอยู่กับช่องที่เปิดบริการ ธุรกิจจานดาวเทียมก็ดำเนินกิจการมาเรื่อยๆไม่ได้หวือหวาอะไรเพราะด้ววยราคาที่แสนแพง ทั้งๆที่ก็มีหลายเจ้ายอมดร็อปราคาลงมา เช่น ทรูวิชั่นยอมให้จานฟรีกับลูกค้าทรูมูฟเพื่อแลกจำนวนลูกค้ามือถือให้มากขึ้น วงการจานดาวเทียมก็กลับมาบูมอีกครั้งเมื่อถูกคู่แข่งที่ไม่คิดว่าจะมีอย่าง “เคเบิลท้องถิ่น”เข้ามาแทนที่ เคเบิลท้องถิ่นเข้ามาแชร์รายได้ของจานดาวเทียมอย่างเห็นได้ชัด เพราะราคาติดตั้งถูก รายเดือนก็ถูก ทำเอาเหล่าจานหลากสีต้องปรับกลยุทธ์สู้ทั้งลดราคาจานและกล่องรับฯ เพิ่มช่องทีวีให้มากขึ้น บางบริษัท (SAMART)ต้องตั้งโรงเรียนสอนเกี่ยวกับระบบดาวเทียมและเน็ทเวิร์ค หรือแม้กระทั่งไล่ฟ้องร้องลิขสิทธิ์เหล่าเคเบิลท้องถิ่น จนทำให้เคเบิลก็เป๋เหมือนกัน สุดท้ายก็ต้องตั้งสมาคมมาปกป้องคนเคเบิลด้วยกันเอง จนกระทั่งราคาของจานนั้นถูกมาก (คาดว่าเริ่มนำเข้าจากจีนมามากขึ้น)


ขอบคุณภาพจาก http://www.mynke.com/

ปัจจุบัน น่านฟ้าสีแดง
                   ที่บอกว่าน่านฟ้าสีแดงนั้นก็ฟ้องมาจากทฤษฎีน่านน้ำสีแดงที่ทั้งปลาใหญ่ปลาน้อยไล่กินกันสนุกสนาน กลุ่มธุรกิจทั้งค่ายมือถืออย่าง AIS ในนามของ DTV หรือธุรกิจบันเทิงอย่างจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GMM Z)และอาร์เอส (SUNBOX) นั้นเริ่มมีช่องดาวเทียมเป็นของตนจากแต่ก่อนก็แค่มีแต่ช่อง ปัจจุบันมีกล่องขายกันอย่างสนุกสนาน เราเข้าไปร้านสะดวกซื้อเงยหน้าขึ้นมาก็เจอกล่องรับสัญญาณกันให้พรึ่บ ปรากฏการณ์นี้นั้นเป็นผลของการตั้งกสทช.ขึ้นมาควบคุมกิจการโทรทัศน์และโทรคมนาคม ซึ่งจะต้องมีกฎระเบียบเข้ามาควบคุม ซึ่งทำให้ค่ายใหญ่รีบเอาตัวเข้ามาก่อนที่กฎนั้นจะมีขึ้น การแข่งขันของทีวีดาวเทียมนั้นอาจจะแบ่งเป็นสองพวก คือ

1) ประเภทขายจานพร้อมกล่องสัญญาณ พวกนี้จะแข่งขันกันมานานแล้ว แต่ไม่มีอะไรแตกต่างกันมาก เพราะระบบของดาวเทียมก็มีเหมือนกันทั้งแบบ KU-Band C-Band หรือ NSS6 ช่องทีวีก็จะไม่แตกต่างกันมาก ราคาก็ใกล้เคียงกัน แล้วแต่การตลาดและโปรโมชั่นของร้านตัวแทนไหนจะโดนกว่ากัน

ขอบคุณภาพจาก http://www.forwardsat.com/

2) ประเภทขายกล่องรับสัญญาณอย่างเดียว คือลูกค้าสามารถไปซื้อจานยี่ห้อไหนก็ได้เพีงแต่ไปซื้อกล่องมาติดตั้งเองก็ดูได้แล้ว อันนี้ล่ะที่กำลังฟาดฟันกันอย่างสนุกสนาน เพราะต่างคนต่างผลิตช่องทีวีออกมาเรียกลูกค้า GMM Z ก็จะเน้นช่องของแกรมมี่ที่มีทั้งเพลงและภาพยนต์รวมถึงฟุตบอลโลกที่ผ่านมาและจะมีช่องฟุตบอลบุนเดส ลีกาของเยอรมันด้วย ในส่วนของ SUMBOX นั้นก็จะเน้นช่องเพลงของค่ายอาร์เอสและบวกช่องละคร “8” ที่ลงทุนผลิตละครป้อนทีวีดาวเทียมอย่างเดียว โดยขนดาราและนักร้องของค่ายมากันแน่น ส่วน”TrueTV” นั้นอาจจะเปิดตัวช้า (สงสัยคิดว่าปัจจุบันตัวเองก็มี TrueVison ทั้งจานและเคเบิลอยู่แล้ว) แต่ก็อดใจอยากโดดลงมาเล่นด้วยโดยอาศัย Content หรือเนื้อหาขอตนที่มีอยู่แล้วเอามาฟาดฟัน ในส่วนกลยุทธ์การแข่งขันนั้นก็เริ่มต้นด้วยการขายพ่วง (GMM Z ขายพ่วงไปกับทีวีช่วงยูโร) ต่อมาก็ใช้กลยุทธ์ Synergy ที่ TrueTVกับPSI กำลังกระหน่าใส่ GMM Z ณ ขณะนี้


ขอบคุณภาพจาก http://www.siamsport.co.th/

อนาคตลูกค้าตาดำๆ
ตราบใดที่ยังไม่มีระเบียบข้อบังคับจากกสทช.ออกมา เหล่ากล่องและจานหลากหลายยี่ห้อนี้ก็จะต่อสู่นัวเนียเพื่อแย่งฐานลูกค้ามาเป็นของตน โดยเอา Content มาหลอกล่อตามสูตรทุนนิยม แต่ก็ไม่รู้ว่าจะดีหรือทำให้ลูกค้าเดือดร้อน เพราะอีกหน่อยจะทำให้อีกหน่อยเราจะได้เห็นหลายๆบ้านมีกล่อง 4-5 กล่องสำหรับทีวีเครื่องเดียวก็เป็นได้

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย
- จานดาวเทียมระบบ KU-Band จะเป็นจานเล็กๆหลากสีสัน ส่วนจานแบบ C-Band จะเป็นตะแกรงสีดำใหญ่

- จำนวนช่องนั้นแล้วแต่ผู้ให้บริการกำหนด จริงๆแล้วสามารถรับชมช่องต่างๆได้เป็นพันๆช่อง

สำหรับอนาคตทีวีดาวเทียวจะเป็นยัง ผมสัญญาว่าถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงจะรีบมาเล่าให้ฟังอย่าแน่นอน...
ขอขอบคุณที่ติดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น