วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555

AEC: ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 กับการคมนาคม ภาค 2

กลับมาอีกแล้วตามกระแสของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC (Asian Economic Committee) หลังจากเขียนไปถึงความเป็นไปได้ในการเป็นฮับของอาเซียนด้านการบิน ซึ่งก็จะมีผลต่อระบบโลจิสติกทั้งระบบของประเทศ เช่น ทางบก (รถยนต์และรถไฟ) ทางน้ำ (ท่าเรือน้ำลึก) ซึ่งวันนี้จะมาพูดถึงแนวเส้นทางที่มีผลต่อการค้าและธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งทางบกและทางน้ำ เอาล่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปมากกว่านี้ เรามาเริ่มต้นกันเลยดีกว่า


การคมนาคมทางบก (ทางรถยนต์) ในอนาคต
แน่นอนว่าหลังจากการเป็นฮับของการบินแล้ว เส้นทางการขนส่งและการเดินทางที่ถือว่าสำคัญมากที่สุดคือ ทางบก ด้วยรถยนต์ เนื่องจากสนามบินสุวรรณภูมินั้นมีการเชื่อมต่อได้โดยตรงคือทางรถยนต์ โดยมีถนนสองเส้นหลักขนาดใหญ่ที่ผ่านสนามบินฯโดยตรงคือ
     ทางด่วนหมายเลข 7 กรุงเทพ-ชลบุรี ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปถึงสัตหีบ (ชลบุรี) และส่วนต่อไปทางบางปะอินต่อพหลโยธินซึ่งไปได้ทุกทิศทางและสายเอเซียขึ้นเหนือถึงสามเหลี่ยมทองคำ (เชียงราย) ซึ่งถือว่าเป็นเส้นเลือดหรือถนนหลักในปัจจุบันที่ใช้ขนส่งกันอยู่ ซึ่งยังสามารถต่อขยายไปถึงนครราชสีมาหากว่าโครงการมอเตอร์เวย์สายใหม่เสร็จ
     ทางหลวงหมายเลข 9 บางนา-ชลบุรี ซึ่งจะเชื่อมต่อทั้งท่าเรือคลองเตยและท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งมีความสำคัญในการขนส่งทางน้ำ รวมถึงต่อขยายไปบางพลี-สุขสวัสดิ์ออกภาคใต้ของไทยได้


จากความสำคัญของสองทางด่วนที่เชื่อมต่อสนามบินสุวรรณภูมิจะทำให้เห็นถึงเส้นทางการเดินทางขนส่งทางบกที่สามารถโยงใยไปทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งของประเทศไทยในด้านการขนส่งภายในประเทศ


ในส่วนของการขนส่งภายนอกประเทศ ตอนนี้จะเห็นได้ตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ได้ว่าประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะพม่า กัมพูชาและลาวล้วนได้รับเงินสนับสนุนด้านการคมนาคมเชื่อมต่อกับไทย เช่น พม่าและลาวได้รับเงินทุนมาลงทุนเส้นทาง ไทย-พม่า-จีน และไทย-ลาว-จีน ซึ่งตอนนี้จีนนั้นได้มองไว้ว่าทั้งพม่าและลาวนั้นเป็นทางผ่านชั้นดีเพื่อนำสินค้าและวัตถุดิบออกทางประเทศไทย เพราะถ้าหวังพึ่งการส่งออกทางทะเลฝั่งตะวันออกคงไม่เพียงพอ เพราะบางจังหวัดในจีนมีระยะทางห่างจากเซินเจิ้นมาก แต่ถ้าสามารถย่นระยะทางผ่านมาอ่าวไทยได้ก็จะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นรวดเร็วมากขึ้น นี่ยังไม่รวมถึงการเปิดท่าเรือน้ำลึกของพม่าด้านมหาสมุทรทีอินเดีย ซึ่งพี่จีนเขาก็ให้เงินลงทุนมาเหมือนกัน


การคมนาคมทางน้ำ (ท่าเรือน้ำลึก) ในอนาคต
ในส่วนของการขนส่งทางเรือนั้น ประเทศไทยมีท่าเรือที่สำคัญสองที่คือ ท่าเรือคลองเตยและท่าเรือแหลมฉบัง ที่สามารถรองรับการขนส่งทางเรือได้มากทั้งนำเข้าและส่งออก แต่ ณ ปัจจุบันคลองเตยนั้นแออัดมากแล้วและพบกับปัญหาสุดฮิตคือรถติดมาก ดังนั้น ณ ตอนนี้จะเหลือแค่แหลมฉบังเพียงอย่างเดียวที่จะต้องพบกับศึกหนัก ทั้งปริมาณการขนส่งที่มากขึ้น ซึ่ง ณ ตอนนี้การเดินรถไฟรางคู่ก็เริ่มทำมาสักสองสามปีแล้วแต่ก็ไม่ทำให้แหลมฉบังมีศักยภาพเพียงพอ เพราะเนื่องจากว่าหากต้องนำสินค้าไปส่งประเทศยุโรปหรือแอฟริกาก็จะต้องอ้อมไปทางอินโดนีเซียซึ่งถือว่าไกลมาก และอีกอย่างพม่าก็มีท่าเรือทวายมารองรับแล้ว ซึ่งทำให้ประเทศไทยนั้นต้องเมียงมองหาแหล่งใหม่ที่เป็นท่าเรือน้ำลึก และที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือบริเวณพื้นที่ท่าเรือจังหวัดระนองฝั่งอันดามัน ที่ตอนนี้มีหลายกระแสมากที่สนับสนุนให้พัฒนาเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ รวมถึงอภิมหาโปรเจ็คท์ที่ใครคิดก็ผิดแล้วอย่างการขุดคอคอดกระบริเวณจังหวัดประจวบฯ ซึ่งมีการศึกษาในหลายๆด้านทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ รวมถึงด้านความมั่นคงซึ่งส่วนใหญ่โครงการนี้ถูกพับลงเนื่องจากสาเหตุอย่างหลังมากที่สุด ซึ่ง ณ ตอนนี้เราอาจจะต้องหันมาดูบ้างก็ได้ เพราะจะทำให้เราเป็นท่าเรืออันดับหนึ่งแซงสิงคโปร์ทันที สร้างความเจริญและงานมากขึ้นหลานแสนอัตรา


จากข้างต้นก็พอจะมองเห็นภาพเครือข่ายการขนส่งภายในประเทศและเชื่อมต่อออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งภาคธุรกิจที่อยู่ในแนวเส้นทางต่างๆที่เอ่ยมาก็จะพบกับผลพลอยได้จากการเปิดเสรีอาเซียนครั้งนี้


ติดตามตอนต่อของ AEC ได้ที่นี่ที่เดียว SMEfriend

1 ความคิดเห็น:

  1. คนธรรมดาก็รู้ว่าเดินทางลัด สดวก เสียต่าใช้จ่ายน้อยกว่า เร็วกว่า มีแต่คนโง่เท่านั้นที่เดินทางอ้อมในที่แออัดการจราจรติดขัด ไม่ต้องทำ Feasibility study ก็รู้ ดังนั้นตั้งท่าเรือน้ำลึกที่ที่กันตัง ระนอง กระบี่ ปากนรามันดีแน่ หรือขุดคลองไทยก็ดีแน่ ไม่ต้องกลัวอังกฤษที่เราถูกบังคับให้ทำสัญญาจะไม่ขุดคอคอดกระเนื่องจาากเราแพัสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะมันเป็นสิงค์โตแก่ที่หมดเขี้ยวเล็บลงไปทุกที่จะเจ็งแล้วร้อมกับยูโร

    ตอบลบ