วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

4 Noble Truths in Business: ดำเนินธุรกิจด้วยอริยสัจ 4

ห่างหายไปนานพอควรกับบทความ เนื่องจากเกิดการ Error ของการเข้าใช้ Blogger ทำให้ไม่สามารถโพสต์อะไรต่อมิอะไรได้ (บางครั้งเล่นเอาซะเครื่องค้าง) โดยในเบื้องต้นอาจจะเป็นการ Error ของ Google Chrome เลยขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เอาล่ะเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ขอเริ่มเลยล่ะกัน


หัวข้อบทความวันนี้เป็นเรื่องที่อยากเขียนมานานแล้ว แต่กลัวเขียนไปเขียนมาแล้วจบไม่ลง แต่ยังไงวันนี้ต้องตัดใจเขียนแล้วพยายามจบให้ลงให้ได้ ซึ่งวันนี้ก็ขอพูดถึงเรื่องการดำเนินธุรกิจตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยหลักอริยสัจ 4 หรือ "ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ" (4 Noble Truths)


อริยสัจ 4 คืออะไร?
อริยสัจ 4 หรือแปลว่าความจริงที่แท้ มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่ 
1. ทุกข์ คือ การทนต่อสภาพเดิมไม่ได้
2. สมุทัย คือ สาเหตุของการเกิดทุกข์
3. นิโรธ คือ การทำให้ทุกข์หมดไป
4. มรรค คือ หนทางหรือวิธีการทำให้ทุกข์หมดไป โดยมีทั้งหมด 8 วิธี

  • สัมมาทิฏฐิ คือ เห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
  • สัมมาสังกัปปะ คือ การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางความดี
  • สัมมาวาจา คือ การพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ที่ดี
  • สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกาย
  • สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริต
  • สัมมาวายามะ คือ ความพยายาม
  • สัมมาสติ คือ การรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  • สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้สงบ

สรุปได้ง่ายๆคือ "ทุกข์เป็นผลของสมุทัย"

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับธุรกิจ ?
จริงๆแล้วหลักอริยสัจ 4 นั้นก็จะคล้ายคลึงกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์คือ ตัวแปรต้น (เหตุ = สมุทัย) >>> ตัวแปรตาม (ผล = ทุกข์) >>> การตั้งสมมติฐาน (= มรรค) >>> การทดลอง (= นิโรธ)

ซึ่งในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะประเภทไหน รูปแบบใด จะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ก็แล้วแต่จะต้องพบพานกับปัญหานานาประการ 
ยกตัวอย่าง เช่น ณ ปัจจุบันธุรกิจการขนส่งกำลังเดือดร้อนกับนโยบาบพลังงานที่จะทำการขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวี (NGV) ให้เท่ากับราคาตลาดโลก ซึ่งปตท.ในฐานะผู้ค้าเองก็ประกาศว่าตนเองขาดทุนในการอุ้มราคาก๊าซอยู่หลายหมื่นล้าน และไม่สามารถอุ้มได้อีกต่อไปจึงต้องขึ้นราคา ทำให้ผู้ประกอบการขนส่งทั้งแท็กซี่ รถเมล์ร่วมและรถบรรทุกพากันไปปิดถนนวิภาวดี ซึ่งก็ไปเบียดเบียนประชานชนที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรด้วย ซึ่งถือว่าแก้ไขได้ไม่ถูกวิธี ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถเอาหลักอริยสัจ 4 ไปใช้ได้

ทุกข์ = ต้นทุนการขนส่งสูงขึ้น (ผล)
สมุทัย = รัฐประกาศขึ้นราคาเอ็นจีวีและแอลพีจี (เหตุ)

แล้วเหล่าผู้ประกอบการดังกล่าวจะทำดำเนินธุรกิจกับการเปลี่ยนนโยบายของรัฐ (นิโรธ) ด้วยวิธีใด (มรรค) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะนำไปใช้

บทความนี้อ่านไปอาจจะงงๆนะครับ แต่ก็อยากให้ดำเนินธุรกิจด้วยหลักที่เป็นเหตุเป็นผลไม่ใช่สะเปะสะปะไปเรื่อย อย่างเช่น บางธุรกิจเกิดปัญหาจากน้ำท่วมที่ผ่านมา ก็ไปแก้ไขด้วยการหาซินแสมาปรับฮวงจุ้ย เสียเงินเสียทองไปเปล่า ลองกลับมาตั้งสติแล้วลองใช้หลักอริยสัจ 4 ที่เราเรียนกันมาตอนเด็กๆมาปะยุกต์ใช้ดู

สุดท้ายนี้ ขอประชาสัมพันธ์ว่าเร็วๆนี้จะมีรูปแบบบทความแบบใหม่มาให้อ่านกัน ต้องติดตามดูแล้วกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น